ข้อแนะนำการเสียภาษี

เมื่อ 03/04/2015 เวลา 10:00:25 น.

ข้อแนะนำการเสียภาษีในเขต เทศบาลตำบลเวียง

ในเขต อบต.เวียง นั้น ประชาชนในท้องถิ่น มีหน้าที่จะต้องภาษีแก่ อบต.เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้
 
1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่เก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ให้เช่าที่ทำการค้าขาย ที่เก็บสินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ พ่อแม่ หรือผู้อื่นอยู่อาศัยหรือใช้เพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น ยกเว้นโรงเรือนที่อยู่อาศัยเอง
ระยะเวลาการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินต้องไปยื่นแบบแสดงรายการแห่งทรัพย์สิน (ภรด.2) ที่กองคลัง อบต.เวียง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยต้องเป็นผู้กรอกรายการทรัพย์สินด้วยตัวเองให้ครบถ้วน หากไม่ยื่นแบบ ภ.ร.ด. 2 ภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท แต่ถ้า 4 เดือน พนักงานเก็บภาษีอาจสั่งตามกฎหมายยึดและขายทรัพย์สินได้
 
2. ภาษีบำรุงท้องที่ หรือ ภาษีที่ดิน คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตอบต. โดยผู้ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 1 งานและใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ระยะเวลาการเสียภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีที่ดิน
ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนเมษายนของทุกปี โดยยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ณอบต.เวียง หากพ้นกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 24 ต่อปี ส่วนผู้ที่หลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้

การชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของทต.เวียง 
1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง เช่น ตึก อาคาร คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในเขตอบต.ซึ่งใช้หาประโยชน์ โดยใช้เป็นสถานประกอบการพาณิชย์ต่าง ๆ ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือน และที่ดินกับอบต. ระยะเวลาการชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน 

ขอรับแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์สิน (แบบ ภ.ร.ด.2) ที่งานผลประโยชน์ ส่วน พัฒนารายได้ สำนักการคลัง อบต.เวียง กรอกรายละเอียดและยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อประเมินภาษีภายในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ขอรับใบแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ร.ด.8) จากอบต.แล้วชำระเงินภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งการประเมิน
 
หลักฐานที่นำไป
- สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก ส.ค. 1 สปก.
- บัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้าน
- ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
- ใบเสร็จรับเงิน ปีที่ผ่านมา
 
บทกำหนดโทษ
1. ถ้าไม่ชำระเกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ให้เพิ่มร้อยละ 2.50 ของค่าภาษีที่ค้าง
2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง
 
2.ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติ บุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ระยะเวลาการชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี
 
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตอบต.เวียง ไปยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (แบบ ภ.บ.ท.5) ที่งานผลประโยชน์ ส่วนพัฒนารายได้ สำนักการคลัง อบต.เวียง และชำระภาษีภายในเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี กรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้องยื่น แบบแสดงรายการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
 
หลักฐานที่นำไป
- สำเนาโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว
 
บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดจงใจไม่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) หรือไม่ยอมชี้แจง หรือไม่ยอม แจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดโดยรู้แล้วหรือจงใจแจ้งาข้อความอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ผู้ใดไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
 
3.ภาษีป้าย ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการ ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้าย ระยะเวลาการชำระภาษี คือ มกราคม - มีนาคม ของทุกปี
 
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
1. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ งานผลประโยชน์ ส่วน พัฒนารายได้ สำนักการคลัง อบต.เวียง ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปี และต้องชำระภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2. ผู้ใดติดตั้งป้ายอันต้องเสียภาษีหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพอันเป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในวันที่ 15 นับแต่วันที่ติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
 
บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีก เลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 50,000 บาท
3. ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
4. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินภาษีป้ายลดน้อยลง ให้ เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
 
4.ค่าใบอนุญาตเกี่ยวกับการสาธารณสุข การประกอบกิจการต่าง ๆ ภายในเขตอบต.เวียง จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอบต. ก่อนดำเนินกิจการ ตามข้อบัญญัติของอบต.เวียง พ.ศ. 2542 ซึ่งมีค่าใบอนุญาตเกี่ยวกับสาธารณสุข ทั้งหมด 7 ประการดังนี้
1. ค่าใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือ พื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร
2. ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือ สถานที่สะสมอาหารหรือมีพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร
3. ค่าใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
4. ค่าใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
5. ค่าใบอนุญาตใช้สถานที่เพื่อทำการรับจ้างแต่งผม
6. ค่าใบอนุญาตให้เป็นผู้รับจ้างแต่งผม
7. ค่าใบอนุญาตให้ใช้สถานที่ประกอบการค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 
การยื่นคำขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการสาธารณสุข ให้เจ้าของกิจการยื่นคำขอใบอนุญาตได้ทุกวันในเวลาราชการ ณ งานการเงินและบัญชี สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.เวียง ก่อนที่ใบอนุญาตจะสิ้นอายุ ตามวันที่ที่ระบุในใบอนุญาต หรือในกรณีเจ้าของกิจการใหม่ ก็ต้องยื่นคำขอใบอนุญาตก่อนที่จะเปิดดำเนินกิจการ
 
หลักฐานในการขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการสาธารณสุข
1. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการ
2. ใบอนุญาตที่จะสิ้นอายุ
3. ใบรับรองแพทย์
 
บทกำหนดโทษ
1. เจ้าของกิจการรายใดดำเนินกิจการ โดยไม่ขออนุญาตจากอบต.ให้ถูกต้อง จะต้อง ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระครั้งต่อไป
2. ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ข้อ 1. ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกัน เกินกว่า 2 ครั้ง เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน