เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้เข้าร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี วันที่ตอบรับสมาชิก 20 มีนาคม 2563 เลขสมาชิก "ฐานทรัพยากรท้องถิ่น 8-5780801 ซึ่งการดำเนินงานตามแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2564) และดำเนินงานต่อเนื่องตามแผนแม่บท อพ.สธ.ระยะ 5ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม พ.ศ.2564 - 30 กันยายน พ.ศ.2569)
อพ.สธ. สนองพระราชดำริโดย เทศบาลตำบลเวียง
- แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม พ.ศ.2564 - 30 กันยายน พ.ศ.2569)
- แนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่เจ็ด 29 กันยายน 2564
ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อปี พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะสงวนบริเวณป่าต้นยางที่อำเภอ ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถจัดถวายตามพระราชประสงค์เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณ นั้นมาก จะต้องจ่ายเงิน ทดแทนในการจัดหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้ เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักรักษาต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และทรงปลูกต้นยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองป่าสาธิตใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา ในปี 2504 ซึ่งนับเป็นปฐมฤกษ์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช แม้ว่าต้นยางนาที่อำเภอท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้น ยังอนุรักษ์ไว้ในสวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนิสิตแทนที่จะต้องเดินทาง ไปทั่วประเทศ
ต่อมาในปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการ โครงการส่วนพระองค์ฯ เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับ งบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอ้นเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณในปี พ.ศ.2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานในทุกกิจกรรมของโครงการฯ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในระยะที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสนองพระราชดำริเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่และกิจกรรมของโครงการได้ขยายและกระจายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งมีแนวทางการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้นโดยลำดับ และได้บรรลุผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยประจักษ์ชัดแล้ว
ซึ่งในการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียง ดำเนินงาน 3 ด้าน 6 งาน
3 ด้าน
1.ด้านที่ 1 การบริหารจัดการ
2.ด้านที่ 2 การดำเนินงาน
3.ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน
6 งาน 1)งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น
2)งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น
3)งานปลูกรักษาทรพัยากรท้องถิ่น
4)งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น
5)งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
6)งานสนับสนุนในการอนุรักษาและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น