เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น

เกี่ยวกับเรา

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

 

 อำนาจหน้าที่ตามกฏหมายของเทศบาลตำบล 

ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาล

 

การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเวียงนั้น      เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการ ร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่   ของเทศบาลตำบลเวียง  โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นทุกด้าน    ซึ่งการพัฒนาเทศบาลตำบลเวียงจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ชุมชนจะต้องมีความตระหนักแก้ไขปัญหา  และมีความเข้าใจแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกันอย่างจริงจัง  
          เทศบาลตำบลเวียง ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนี้ยังเน้นการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อม ที่จะเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพ   ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพนั้น  ได้เน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง  และยังจัดตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม
          การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖   และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น    แนวทางการวิเคราะห์ได้ใช้เทคนิค SWOT   ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าเทศบาล มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน   โอกาส   และปัญหาอุปสรรค
          ในการดำเนินการตามภารกิจตามผลของการวิเคราะห์ SWOT  เทศบาลตำบลเวียง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น ๗ ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖    และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒  ดังนี้
๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
  (๑)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  และทางระบายน้ำ  (มาตรา ๑๖ (๒))
  (๒)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๔))
  (๓)  การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕))
  (๔)  ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (มาตรา ๕๑ (๑))
  (๕)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๕๑ (๗))
  (๖)  การขนส่ง  และการวิศวกรรมจราจร (มาตรา ๑๖ (๒๖))
  (๗)  การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา ๑๖ (๒๗))
๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
  (๑)  การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙))
  (๒)  การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ (มาตรา ๑๖ (๑๔))
  (๓)  การสาธารณสุข  การอนามัยครอบครัว  และการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙))
  (๔)  รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย (มาตรา ๕๐ (๓))
  (๕)  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (มาตรา ๕๐ (๔))
  (๖)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี  เด็ก  เยาวชน  ผู้สูงอายุและผู้พิการ  (มาตรา ๕๐ (๗))
  (๗)  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๒))
  (๘)  การจัดให้มีและควบคุมตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้ามและที่จอดรถ (มาตรา ๑๖ (๓))
  (๙)  การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน (มาตรา ๑๖ (๓))
  (๑๐)  ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา ๕๑ (๖))
  (๑๑)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา ๑๖ (๒๒))
  (๑๒)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา ๑๖ (๑๓))
  (๑๓)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๑))
  (๑๔)  การสังคมสงเคราะห์  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก  สตรี  คนชราและผู้ด้อยโอกาส
           (มาตรา ๑๖ (๓))
๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม  และการรักษาความสงบเรียบร้อย  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
  (๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา ๑๖ (๓๐))
  (๒)  ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (มาตรา ๕๐ (๕))
  (๓)  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา ๑๖ (๑๗))
  (๔)   การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๑๖ (๒๙))
  (๕)  การรักษาความปลอดภัย   ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย    โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๒๓))
  (๖)  การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖ (๒๘))
  (๗)  การผังเมือง  (มาตรา ๑๖ (๒๕))
  (๘)  รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว (มาตรา ๕๐ (๒/๑))
๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
  (๑)  บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร (มาตรา ๕๑ (๕))
  (๒)  การส่งเสริม  การฝึก  และประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๖))
  (๓)  การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖ (๗))
  (๔)  การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา ๑๖ (๘))
๕. ด้านการบริหารจัดการ   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  (๑)  การจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๑๖ (๒๔))
  (๒) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ (มาตรา ๑๗(๑๒))
๖. ด้านการศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  (๑)  บำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น  (มาตรา ๕๐ (๘))  
  (๒)  จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก (มาตรา ๕๐ (๖))
๗. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
  (๑)  การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา ๑๖ (๑๕))
  (๒)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๑๖ (๑๖))
  (๓) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๔๕(๓))
  (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา ๖๗(๙)
  (๕) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๑๗(๓))
  (๖) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา ๑๗(๑๖))
           ภารกิจทั้ง  ๗    ด้านตามที่กำหนดให้อำนาจเทศบาล  ภารกิจดังกล่าวสามารถจะแก้ไขปัญหาของ เทศบาลตำบลเวียงพางคำได้   เมื่อพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่   การดำเนินการของเทศบาลให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    แผนพัฒนาอำเภอ  แผนพัฒนาจังหวัด  นโยบายของรัฐบาล  และนโยบายของผู้บริหารเทศบาลแล้ว  เทศบาลตำบลเวียงพางคำมีศักยภาพในการพัฒนาที่เพียงพอ 

หมายเหตุ : มาตรา ๕๐,๕๑ หมายถึง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖
                มาตรา ๑๖,๑๗ และ ๔๕ หมายถึง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ
                ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ 

 

101มาตรฐานถนน ทางเดินและทางเท้า 104มาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ
108มาตรฐานการควบคุมอาคาร 109มาตรฐานการวางผังเมือง
  114มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร  
200ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
206มาตรฐานการพัฒนาและสงเคราะห์ผู้พิการ
207มาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐานชุมชน 208มาตรฐานการจัดการศึกษาท้องถิ่น 209มาตรฐานการส่งเสริมการพัฒนาสตรี
211มาตรฐานการส่งเสริมกีฬา
   
103มาตรฐานการป้องกันอุบัติภัยทางถนน 301มาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัย
304มาตรฐานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 305มาตรฐานด้านการทะเบียนและการอนุญาต 306มาตรฐานด้านการเปรียบเทียบปรับ
307มาตรฐานหอกระจายข่าว
 
402มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว 403มาตรฐานตลาด
404มาตรฐานการส่งเสริมอาชีพ 405มาตรฐานส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรมและจารีตประเพณีท้องถิ่น
407มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม 409มาตรฐานการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์
501มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล  
     

 

 ***